5 แนวทางการประเมิน ทดลองงาน (Probation Evaluation) ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

ประเมิน ทดลองงาน (Probation Evaluation) เป็นช่วงเวลาที่สำคัญ นอกจากจะช่วยพิสูจน์ความรู้ความสามารถ หรือทักษะในการทำงานของพนักงานใหม่แล้ว ยังเป็นโอกาสให้ทุกฝ่ายได้ลองสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน รวมถึงพิจารณาความเข้ากันได้กับวัฒนธรรมขององค์กร ดังนั้นการประเมินควรเป็นไปอย่างมีระบบระเบียบ เพื่อให้ผลลัพธ์นั้นมีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์ต่อทั้งองค์กรและพนักงานในระยะยาว

แต่จะทำการประเมินอย่างไรให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด? วันนี้ I AM Consulting ขอยก 5 แนวทางนี้ มาให้ฝ่าย HR และ หัวหน้างานได้ลองนำไปปรับใช้กัน

 

1) กำหนดเกณฑ์ในการประเมินและสื่อสารกับพนักงานให้ชัดเจน

 

เกณฑ์การประเมินอาจแตกต่างกันออกไปตามตำแหน่งและหน้าที่ที่พนักงานใหม่ได้รับมอบหมาย ซึ่งในรายละเอียดเป็นสิ่งที่ฝ่าย HR ต้องตกลงร่วมกับหัวหน้างาน และชี้แจงให้พนักงานได้รับทราบเกณฑ์การประเมินผลที่ชัดเจน ซึ่งตัววัดที่ดี ควรทำให้องค์กรรับทราบทัศนคติในการทำงาน, การปฎิสัมพันธ์กับคนอื่น ของตัวพนักงาน แน่นอนว่าเกณฑ์ในการวัดผลงานในเนื้องานของพนักงานก็มีความสำคัญด้วยเช่นกัน

 

2) กำหนด milestone ในการวัดผลและติดตามเป็นระยะ

 

ระยะเวลาทดลองงานโดยส่วนใหญ่ จะอยู่ที่ 90-120 วัน การประเมินจะได้ผลดีหากมีการกำหนด milestone ในการวัดผลย่อยๆ ภายในระยะเวลาดังกล่าว เพื่อให้ผู้ประเมินสามารถติดตาม รับทราบความคืบหน้าของตัววัดได้เป็นระยะ และเกิดการพูดคุยสื่อสารเพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับพนักงานใหม่ ทำให้องค์กรได้เห็นแนวโน้มของพนักงานใหม่ได้รวดเร็ว

 

3) HR ควรพูดคุยกับหัวหน้างานอย่างสม่ำเสมอ

 

การสรรหาพนักงานจนไปถึงการบรรจุเป็นพนักงานประจำ เป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่อง ควรมีการอัปเดตข้อมูลซึ่งกันและกันอยู่เสมอ ไม่ควรทิ้งให้เป็นภาระของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ช่วงทดลองงานถือเป็นโจทย์สำคัญของ HR และ หัวหน้างาน ว่าควรทำอย่างไรให้พนักงานคนนี้ได้ไปต่อ และทำงานในองค์กรได้อย่างราบรื่น

 

4) การขยายเวลาทดลองงาน

 

การขยายเวลาทดลองงาน หรือ ต่อโปร อาจเกิดขึ้นจากกรณีที่องค์กรยังไม่มั่นใจว่าพนักงานใหม่จะสามารถทำงานได้ตามที่คาดหวังหรือไม่ หรือ จะสามารถทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ ได้หรือไม่ ซึ่งสามารถทำได้โดยอาจขยายระยะเวลาไปอีก 1 – 3 เดือน และควรให้เหตุผลพร้อมบอกจุดที่ต้องการให้เขาเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนา

 

5) กฎหมายที่ควรรู้ เมื่อลูกจ้างไม่ผ่านระยะ ทดลองงาน

 

กรณี “ไม่ผ่านโปร” ควรแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน (ออกเป็นหนังสือ) ก่อนครบกำหนดระยะเวลาทดลองงาน มิฉะนั้นองค์กรจะต้องจ่ายค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้า (ค่าตกใจ) ให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเงินเท่ากับค่าจ้างในอัตราที่ลูกจ้างได้รับอยู่อัตราสุดท้าย

ส่วนกรณีที่มีการ “ต่อโปร” และพนักงานทำงานจนเกินระยะเวลา 120 วัน แต่สุดท้ายถูกประเมินว่ายังไม่ผ่านทดลองงาน องค์กรจะต้องจ่ายค่าชดเชย ในอัตราที่ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย และหากไม่แจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน ก็ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้า (ค่าตกใจ) เช่นกัน

 

การมีระบบที่รองรับการประเมินในช่วงทดลองงาน จะช่วยให้ HR และ หัวหน้างาน สามารถทำการประเมินได้ง่ายขึ้น และไม่ต้องกังวลว่าจะเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

 

ทำความรู้จัก IPOP PMS

 

IPOP PMS เป็นระบบประเมินผลพนักงานที่ครอบคลุม การประเมินทุกรูปแบบ รวมไปถึงการประเมิน probation ซึ่งจะมีรายงานและ Dashboard ที่ทำให้ ใช้งานได้ง่าย

สามารถทำการประเมิน probation โดยวัดประเมินผลได้สูงสุดถึง 4 รอบ และรองรับการต่อระยะเวลาทดลองงาน โดยจะมีการเก็บข้อมูลต่อเนื่อง ไม่ต้องเสียเวลาในการจัดทำใบประเมินใหม่ในทุกๆ ครั้ง 

I AM Consulting พัฒนาโดยคำนึงถึงประสบการณ์ใช้งานของพนักงานจริง ทั้งฝ่าย HR หัวหน้างาน และพนักงานทั่วไป จึงเป็นระบบที่สามารถเข้าได้ใจง่าย ไม่สร้างความเครียดและกดดัน สามารถเชื่อมต่อกับระบบ core HR ของลูกค้าที่มีอยู่แล้วได้ ช่วยลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน มองเห็นภาพรวมได้อย่างชัดเจน นำไปวิเคราะห์ และช่วยขับเคลื่อนคนในองค์กรไปในมีเป้าหมายที่สอดคล้องกัน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ขอ Demo คลิก https://ipop-hr.iamconsulting.co.th/pms-kpi

 

หากองค์กรของคุณกำลังมองหา ระบบ PMS ที่ตอบโจทย์ที่สุด
สามารถพูดคุยปรึกษา - สอบถามข้อมูล ได้ตามช่องทางเหล่านี้
โทรศัพท์ : 02-026-3964 
E-mail : info@iamconsulting.co.th 
LINE@ : http://bit.ly/3Eji6r1