ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเรื่องการทำงานในหลายๆ ด้าน แต่บางองค์กรยังยอมเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการรับ-ส่งเอกสารแบบกระดาษ เพราะไม่มั่นใจว่าหากเกิดปัญหาต้องฟ้องร้องกันขึ้นมา เอกสารที่ถูกลงนามด้วย ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ จะใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลได้หรือไม่?
หากดูตามข้อกฎหมาย พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ แล้ว องค์กรสามารถมั่นใจได้เลยว่า การลงนามด้วยลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีผลทางกฎหมายเทียบเท่ากับการจรดปากกาลงนามบนกระดาษ อย่างแน่นอน
เพียงแต่จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับประเภทของลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ที่เราเลือกใช้ซึ่ง I AM Consulting จะนำมาอธิบายให้เข้าใจกันในบทความนี้
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Signature ไม่ได้หมายถึง การเซ็นชื่อ อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง การอัปโหลดรูปภาพลายเซ็น, การพิมพ์ชื่อเป็นตัวอักษร, การใช้ Username-Password บนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่น, หรือแม้กระทั่งการคลิกปุ่มยอมรับ ( Submit ) ในแบบฟอร์มต่างๆ เป็นต้น
โดยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมี 3 องค์ประกอบนี้
1. ระบุเจ้าของลายมือชื่อได้ว่าเป็นของใคร
2. ระบุเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อต่อข้อความที่ลงนาม
3. ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้
การลงนามอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 9 นี้ เป็น e-Signature แบบทั่วไป ตามที่ได้นิยามไว้ข้างต้น เป็นวิธีที่เข้าใจง่าย สะดวก รวดเร็วที่สุด แต่หากเกิดข้อพิพาทขึ้น ผู้ที่ฟ้องร้องจะมีหน้าที่ในการหาวิธีการพิสูจน์ว่าการลงนามอิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นของจริงหรือของปลอม เช่น นาย A ยืมเงิน นาย B และได้ทำสัญญากันด้วยการเซ็นเอกสาร PDF ไว้ ต่อมานาย A ไม่ยอมจ่ายเงินคืนให้นาย B และอ้างว่าลายเซ็นที่ลงนามไว้นั้นเป็นของปลอม ในกรณีนี้ หากนาย B ในฐานะเจ้าหนี้ ฟ้องร้องนาย A ซึ่งเป็นลูกหนี้ นาย B ที่จะต้องหาวิธีมายืนยันว่าลายเซ็นของนาย A นั้นเป็นของจริง
สำหรับการลงนามอิเล็กทรอนิกส์ตาม มาตรา 26 และ 28 เราจะเรียกว่า Digital Signature หรือ การลงลายมือชื่อดิจิทัล ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ e-Signature แต่มีความน่าเชื่อถือ และปลอดภัยมากกว่า เพราะจะมีกระบวนการเข้ารหัส ( Encrypt ) ซึ่งช่วยให้สามารถยืนยันตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสอบกลับการเปลี่ยนแปลงได้ ส่งผลให้ผู้ลงนามไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบจากข้อความที่ตนเองได้แสดงเจตนาในลงลายมือดิจิทัลไว้
หากเปรียบเทียบกับตัวอย่างเดิม แต่เปลี่ยนการลงนามจาก e-Signature แบบทั่วไป (มาตรา 9) มาเป็นการลงนามแบบดิจิทัล (มาตรา 26 และ 28) เช่น นาย A ยืมเงิน นาย B และทำสัญญากันด้วยการเซ็นเอกสารผ่านระบบ Digital Signature ไว้ แล้วนาย A ไม่ยอมจ่ายคืน โดยอ้างว่าลายเซ็นเป็นของปลอม ในกรณีนี้จะเป็นหน้าที่ของนาย A ที่จะต้องหาวิธีมายืนยันว่าการลงนามดิจิทัลที่ได้ดำเนินการไว้เป็นของปลอม
การเลือกใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงหรือผลกระทบที่อาจทำให้ลายเซ็นไม่เป็นที่ยอมรับ เอกสารขององค์กรที่มีความสำคัญ เช่น เอกสารสัญญาซื้อ-ขายระหว่างบริษัท เอกสารกู้ยืมเงิน หรือเอกสารที่มีเรื่องมูลค่าเข้ามาเกี่ยวข้อง การใช้ Digital Signature จึงเป็นทางเลือกเหมาะสมมากกว่า
หากสนใจอยากทำระบบลงนามดิจิทัล I AM Consuting มี iZign ซึ่งเป็นระบบ 1 เดียว ที่ปลอดภัยสูงสุด สอดคล้องตามข้อกฎหมายทุกมาตรา ทั้ง มาตรา 9 26 และ 28 ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลากระบวนการลงนามต่างๆ มี log เก็บไว้ สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ ลดการใช้กระดาษ และหมึกพิมพ์ ลดการใช้พื้นที่จัดเก็บเอกสาร ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสาร และสามารถเชื่อมต่อกับระบบ ERP ต่างๆ ทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่ออีกด้วย
ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ iZign เพิ่มเติม คลิกที่นี่
เรามีความมั่นใจในระบบที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย มีความปลอดภัยตามมาตรฐาน ด้วยการใช้เทคโนโลยี PKI ที่มีความโปร่งใส สนับสนุนการลงนามดิจิทัลทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการลงนามโดยบุคคลเดียว การลงนามร่วม และ การลงนามระหว่างบริษัท มาพร้อมบริการที่ครอบคลุม คอยดูแลในส่วนของการสร้างใบรับรอง และบริหารจัดการให้สอดคล้องตามพรบ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิส์ มีผู้เชี่ยวชาญที่สามารถแนะนำ ให้คำปรึกษา รวมไปจนถึงการฝึกอบรมทีมงานของท่าน
พูดคุยปรึกษา - สอบถามข้อมูล ได้ตามช่องทางเหล่านี้
โทรศัพท์ : 02-026-3964
E-mail : info@iamconsulting.co.th
LINE@ : http://bit.ly/3Eji6r1