ในยุคที่เทคโนโลยีช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการขับเคลื่อนธุรกิจ และ ทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อม การจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ( e-tax invoice & e-receipt ) ที่ตอบโจทย์ทั้ง 2 ข้อ จึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลของไทย พยายามส่งเสริม และผลักดันออกมาเป็นนโนบายต่างๆ เช่น มาตรการ ช้อปดีมีคืน 2566 ที่ผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีมากกว่า หลายองค์กรจึงต้องเร่งมือ เตรียมพร้อม ระบบ e-tax ไว้ตอบรับกับนโยบายปีต่อๆ ไป หากยังมีข้อสงสัยว่าควรเริ่มต้นอย่างไร? ในบทความนี้ I AM Consulting จะพาไปหาคำตอบกัน
ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-tax invoice คือ ใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้ ส่วน ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-receipt) คือ ใบรับหรือใบเสร็จรับเงิน ซึ่งต่างจากรูปแบบกระดาษปกติ ตรงที่ได้มีการจัดทำเอกสารเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ XML File, PDF File) และลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ก่อนส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ และกรมสรรพากร
เพื่อตอบรับนโยบาย Thailand 4.0 กรมสรรพากรได้พัฒนาระบบบริการ e-tax invoice / e-receipt ขึ้น และมีนโยบายส่งเสริมเรื่องนี้ต่อเนื่องมาหลายปี หากผู้ประกอบการอยากเริ่มต้นทำระบบในปีนี้ สามารถศึกษาขั้นตอนตามด้านล่าง หรือ ติดต่อ I AM Consulting เพื่อรับคำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือได้ตั้งแต่ขั้นตอนแรก
1) ประเมินความพร้อมในองค์กร
ผู้ใช้งานต้องปรับปรุงหรือพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ เตรียมความพร้อมด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้องค์กรให้สามารถรองรับการจัดทำ ส่งมอบ และจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้
2) จัดหาใบรับรองอีเล็กทรอนิกส์
เพื่อให้ผู้ใช้งานเกิดความเชื่อมั่นในการรับและส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน ผู้ประกอบการจึงต้องจัดหาใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้สร้างลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ที่ออกจากผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority: CA) ที่มีความน่าเชื่อถือ
3) ยื่นคำขอ
ยื่นคำขอเป็นผู้ประกอบการจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ โดยการลงทะเบียนและตรวจสอบลายมือชื่อดิจิทัล โดยเข้าไปที่เว็บไซต์กรมสรรพากร https://etax.rd.go.th ดาวน์โหลดโปรแกรม Ultimate Sign & Viewer มาติดตั้ง และ ลงทะเบียน บ.อ.01 ผ่านโปรแกรม
4) จัดทำและนำส่ง
จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ส่งมอบแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการการเป็นไปตามข้อตกลงทางการค้าระหว่างกัน แต่สำหรับการนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรนั้นเป็นไปตามมาตรฐาน ขมธอ.3-2560 สามารถนำส่งข้อมูลได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ Upload , Host to Host และผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Service Provider) สามารถเลือกช่องทางนำส่งข้อมูลที่เหมาะสมกับสภาพของกิจการได้เลย
5) เก็บรักษา
ผู้จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ต้องจัดเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้องปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด
EZTax by I AM Consulting คือ เครื่องมือที่จะช่วยในขั้นตอนการจัดทำเอกสาร นำส่ง และเก็บข้อมูล ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ บนมาตรฐานระดับสากล สามารถเข้ากันได้กับระบบ ERP ทุกรูปแบบ ที่สำคัญที่สุด คือ สามารถทำงานได้ตรงตามคุณสมบัติที่กรมสรรพากรกำหนดทั้งหมด
เราเป็นระบบ e-tax รายแรกๆ ของประเทศไทย โดยในปัจจุบันมีพาร์ทเนอร์ที่ใช้งาน EZTax อยู่มากมายทุกอุตสาหกรรม และจัดทำ e-Tax Invoice/e-Receipt ไปมากกว่า 400 ล้านฉบับ ซึ่งนอกจากจะเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสให้องค์กรแล้ว ยังช่วยลดการใช้กระดาษ ลดภาระในการจัดส่งเอกสาร รวมถึงการจัดเก็บหลักฐานต่างๆ อีกด้วย
ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ EZTax เพิ่มเติม คลิกที่นี่
เรามีความมั่นใจในบริการที่ครอบคลุม พร้อมความสามารถในการแนะนำ ให้คำปรึกษาด้านบัญชี และนำเสนอโซลูชันให้กับลูกค้าได้อย่างครบวงจร (One-Stop-Service) ตั้งแต่ต้นจนจบ ตั้งแต่การจัดหาใบรับรองอีเล็กทรอนิกส์ การลงทะเบียน การตรวจประเมินเบื้องต้นเพื่อปรับกระบวนการและลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น การติดตั้งและวางระบบ ไปจนถึงการฝึกอบรมทีมงาน และมีบริการดูแลหลังจากติดตั้งเรียบร้อยแล้ว เพราะระบบจะอยู่กับองค์กรไปอีกนาน จึงต้องมีทีมที่ปรึกษาที่จะช่วยดูแล ปรับปรุง พัฒนา ระบบอย่างต่อเนื่อง
พูดคุยปรึกษา - สอบถามข้อมูล ได้ตามช่องทางเหล่านี้
โทรศัพท์ : 02-026-3964
E-mail : info@iamconsulting.co.th
LINE@ : http://bit.ly/3Eji6r1